ชื่อไทย : กาสะลองคำ
ชื่อท้องถิ่น : กากี(ใต้,สุราษฎร์ธานี) / แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น(ลำปาง) / จางจืด(ชัยภูมิ,มุกดาหาร) / สะเภา(เหนือ) / อ้อยช้าง(กาญจนบุรี,อุตรดิตถ์) 
ชื่อสามัญ : Tree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว เรือนยอดแผ่นเป็นชั้น ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านเล็กและลู่ลง เปลือกสีเทา แตกสะเก็ดเล็กน้อยมีช่องอากาศขนาดใหญ่ทั่วไป
ใบ :
ประกอบแบบขนนก 3 ชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ยาว 20-60 ซม. ใบย่อย 3-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปรี รูปใบหอก กว้าง 2-4.6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลมยาวโคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบบาง เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.3-1.1 ซม.
ดอก :
สีเหลืองทองออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่งและลำต้น มี 3-10 ดอก ช่อดอกยาว 1-1.7 ซม. มีขนนุ่มประปราย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายรูปกระสวยแกมรูปไข่ สีน้ำตาลแดง มีขนนุ่มทั่วไป กลีบดอกเชื่อมเป็นรูปทรงกระบอกปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม.
ผล :
แห้งแตก เป็นฝัก รูปทรงกระบอกยาว 30-45 ซม. ผลแก่จะบิดเวียนและแตก 2 ซีก  เมล็ด แบน มีจำนวนมาก มีปีกแคบยาว 2 ข้าง 
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : พฤษภาคม สิ้นสุดระยะติดผล : มิถุนายน

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณชื้นและชายป่าดิบแล้งตามเชิงเขา

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ทรงพุ่มเบียดกันเป็นกลุ่มไม่แผ่กว้าง พุ่มใบสวยงาม ควรปลูกเป็นจุดเด่นตามมุมของพื้นที่หรือปลูกใกล้ทางเดินเพราะดอกสวยงามแต่ซ่อนอยู่ตามกิ่ง

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

ดินร่วนปนทราย

โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- ลำต้น ผสมกับต้นขางปอย ต้นขางน้ำข้าว ต้นขางน้ำนม ต้นอวดเชือก ฝนน้ำกินแก้ซาง [1], [2]

- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย [1], [2]

- ใบ ตำคั้นน้ำ ทาหรือพอกรักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด [1], [2]

- เนื้อไม้ทำลังใส่ของ กระดาน เครื่องเรือน [2]

- ไม้เบิกนำ โตเร็ว [3]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554